เมนู

[อธิบาย เอว อักษร]


ก็ เอว อักษรนี้ ในบทว่า วิวิจฺเจว นี้ พึงทราบว่า มีความกำหนด
เป็นอรรถ. ก็เพราะ เอว อักษร มีความกำหนดเป็นอรรถนั้น, ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงความที่กามทั้งหลาย แม้ไม่มีอยู่ในเวลาเข้า
ปฐมฌานนั้น ก็เป็นข้าศึกแก่ปฐมฌานนั้น และการจะบรรลุปฐมฌานนั้นได้
ก็ด้วยการสละกามนั่นแล.
ถามว่า ข้อนั้น คืออย่างไร ?
แก้ว่า คือ สงัดแล้วเทียว จากกามทั้งหลาย อธิบายว่า จริงอยู่
เมื่อทำความนิยมไว้อย่างนั้น คำนี้ ย่อมปรากฏชัดว่ากามทั้งหลาย ย่อมเป็น
ข้อศกต่อฌานนี้ อย่างแน่นอน, เมื่อกามเหล่าใดยังมีอยู่ ปฐมฌานนี้ ย่อมเป็น
ไปไม่ได้ ดุจเมื่อมีมืด แสงประทีปก็ไม่มีฉะนั้น และการบรรลุปฐมฌานนั้น
จะมีได้ก็ด้วยการสละกามเหล่านั้นเสียได้ เปรียบเหมือนการไปถึงฝั่งโน้นได้ ก็
ด้วยการละฝั่งนี้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำความกำหนดไว้.
ในคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นั้น พึงมีคำถามว่า ก็เพราะเหตุไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส เอว อักษรนั้น ไว้เฉพาะบทต้นเท่านั้น ไม่ตรัส
ไว้ในบทหลังเล่า, พระโยคาวจรแม้ไม่สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็พึงได้
บรรลุฌานอยู่หรือ ?
แก้ว่า ก็แล เอว อักษร ที่เป็นอวธารณะนั้น บัณฑิตไม่ควรเห็น
อย่างนั้น. เพราะว่า เอว อักษรนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทต้น
ก็เพราะฌานเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามนั้น. แม้จริงฌานนี้ชื่อว่าสลัดเสียซึ่งกาม
ทั้งหลายทีเดียว เพราะก้าวล่วงกามธาตุเสียได้ และเพราะเป็นข้าศึกต่อกามราคะ.

เหมือนดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ฌาน คือเนกขัมมะนี้นั่น สลัดเสียซึ่งกาม
ทั้งหลาย1 ดังนี้.
อัน เอว อักษรนั่น บัณฑิตควรกล่าวไว้แม้ในบทหลัง เหมือนอย่าง
เอว อักษร ที่พระผู้มีภาคเจ้าทรงนำมาตรัสไว้ในคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สมณะที่ 1 มีอยู่ในศาสนานี้ทีเดียว, สมณะที่ 2 มีอยู่ในศาสนา 2 นี้
ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น, จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
กล่าวคือนิวรณ์ แม้อื่นจากกามฉันท์นี้ ไม่อาจจะบรรลุฌานอยู่ได้เลย, เพราะ
ฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นความนิยมนี้ แม้ในบททั้งสองอย่างนี้ว่า พระโยคาวาจร
สงัดแล้วเทียวจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วเทียวจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนี้.
อนึ่ง วิเวกแม้ทั้งหมด มีตทังควิเวก และกายวิเวกเป็นต้น ย่อมถึง
ความสงเคราะห์เข้าแม้ในบททั้งสอง ด้วยคำที่เป็นสาธารณะนี้ว่า วิวิจฺจ แม้
ก็จริง, ถึงกะนั้น ในอธิการนี้ ก็ควรเห็นวิเวกเพียง 3 เท่านั้น คือ กายวิเวก
จิตตวิเวก วิกขัมภนวิเวก.
ก็พวกวัตถุถาม ที่พระสารีบุตรเถระ กล่าวไว้ในนิเทศ โดยนัยเป็นต้น
ว่า วัตถุกามเป็นไฉน ? คือรูปอันเป็นที่ชอบใจ 3 และพวกกิเลสกาม ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสไว้ในวิภังค์ในนิเทศนั้นนั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า ความพอใจ
ชื่อว่า กาม 4 แม้ทั้งหมดเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย
บทว่า กาเมหิ นี้แล. ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สองบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ
ความหมายว่า สงัดแล้วเทียว แม้จากวัตถุกามทั้งหลาย ดังนี้ก็ใช้ได้. กายวิเวก
ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้ว ด้วยความสงัดจากวัตถุกามนั้น.
1. ขุ. ปฏิ. 31 / 639. 2. องฺ. จตุกฺก. 21 / 323. 3. ขุ. มหา. 91 / 1.
4. อภิ. วิ. 35 / 346.

หลายบทว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ความหมายว่า สงัดแล้ว
จากกิเลสกามทั้งหลาย หรือจากอกุศลธรรมทั้งปวง ดังนี้ ก็ใช้ได้. จิตตวิเวก
ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้ว ด้วยความสงัดจากกิเลสกาม หรือจากอกุศลธรรม
ทั้งปวงนั้น.
ก็บรรดากายวิเวกและจิตตวิเวก 2 อย่างนี้ ความสละกามสุขเป็นอัน
ท่านประกาศแล้ว ด้วยกายวิเวกข้อต้น เพราะกล่าวถึงความสงัดจากวัตถุกาม
ทั้งหลายนั่นเอง. ความประคองเนกขัมมสุข เป็นอันท่านประกาศแล้ว ด้วย
จิตตวิเวกข้อที่ 2 เพราะกล่าวถึงความสงัดจากกิเลสกามทั้งหลาย.
อนึ่ง บรรดาบททั้ง 2 ตามที่กล่าวแล้วนั้น การละสังกิเลสวัตถุพึงรู้ว่า
ท่านประกาศแล้ว ด้วยบทแรก, การละสังกิเลส พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว
ด้วยบทที่ 2. การละเหตุแห่งความอยาก พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว ด้วย
บทแรก, การละเหตุแห่งความโง่เขลา พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว ด้วยบทที่ 2,
ความบริสุทธิ์แห่งการประกอบความเพียร พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว ด้วย
บทแรก, และความกล่อมเกลาอัธยาศัย พึงรู้ว่า ท่านประกาศแล้ว ด้วยบท
ที่ 2 เพราะกล่าวถึงความสงัดจากวัตถุกามและกิเลสกามนั่นแล ดังพรรณนา
มาฉะนี้.
บรรดากามตามที่กล่าวในบทว่า กาเมหิ นี้ ในฝ่ายวัตถุกามมีนัย
เท่านี้ก่อน. ส่วนในฝ่ายกิเลส กามฉันท์นั่นเอง ซึ่งมีประเภทมากมาย ท่าน
ประสงค์ว่า กาม โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ฉันทะ ชื่อว่า กาม และว่า ราคะ
ชื่อว่า กาม. ก็กามฉันท์นั้นถึงเป็นของนับเนื่องในอกุศลก็ตาม พระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์แผนกหนึ่ง เพราะเป็นข้าศึกต่อฌาน
โดยนัยเป็นต้นว่า บรรดากามและอกุศลธรรมเหล่านั้น ความพอใจด้วยอำนาจ
แห่งความใคร่ เป็นไฉน ? คือ กาม* ดังนี้.
* อภิ. วิ. 35 / 346.

อีกอย่างหนึ่ง กามฉันท์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทต้น
เพราะเป็นกิเลสกาม. ตรัสไว้ในบทที่ 2 เพราะเป็นกามนับเนื่องในอกุศล.
อนึ่ง ไม่ได้ตรัสว่า กามโต แต่ตรัสว่า กาเมหิ เพราะกามฉันท์นั้นมี
ประเภทมากมาย. ก็เมื่อความที่ธรรมทั้งหลายแม้เหล่าอื่นซึ่งเป็นอกุศลยังมีอยู่.
นิวรณ์ทั้งหลายเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์ เพราะ
ทรงแสดงความที่นิวรณ์เป็นข้าศึกโดยตรงต่อองค์ฌานชั้นสูงขึ้นไป โดยนัย
เป็นต้นว่า บรรดากามและอกุศลธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรม เป็นไฉน ?
คือความพอใจด้วยอำนาจแห่งความใคร่* ดังนี้. จริงอยู่ นิวรณ์ทั้งหลาย ย่อม
เป็นข้าศึกโดยตรงต่อองค์ฌาน. มีคำอธิบายว่า องค์ฌานทั้งหลายเท่านั้นเป็น
ปฏิปักษ์ คือเป็นเครื่องกำจัดนิวรณ์เหล่านั้น. จริงอย่างนั้น พระมหากัจจายนเถระ
ก็ได้กล่าวไว้ในเปฏกปกรณ์ว่า สมาธิ เป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันท์ ปีติ เป็น
ปฏิปักษ์ต่อพยาบาท วิตก เป็นปฏิปักษ์ต่อถิ่นมิทธะ สุข เป็นปฏิปักษ์ต่อ
อุทธัจจกุกกุจจะ วิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา.
บรรดาบททั้ง 2 นี้ ความสงัดด้วยอำนาจการข่มกามฉันท์ไว้ ย่อม
เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยบทนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ. ความ
สงัดด้วยอำนาจการข่มนิวรณ์แม้ทั้ง 5 ไว้ เป็นอันพระองค์ตรัสด้วยบทนี้ว่า
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้.
อนึ่ง ความสงัดด้วยอำนาจการข่มกามฉันท์ไว้ ย่อมเป็นอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทแรก ด้วยศัพท์ที่ท่านมิได้ถือเอา, ความสงัดด้วย
อำนาจการข่มนิวรณ์ที่เหลือไว้ เป็นอันตรัสด้วยบทที่ 2. หนึ่ง บรรดาอกุศล-
มูลทั้ง 3 ความสงัดด้วยอำนาจการข่มโลภะอันมีความต่างแห่งปัญจกามคุณ
* อภิ. วิ. 35 / 346.

เป็นอารมณ์ เป็นอันตรัสไว้ด้วยบทแรก, ความสงัดด้วยอำนาจการข่มโทสะ
และโมหะ อันมีชนิดแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้นเป็นอารมณ์ เป็นอันตรัสไว้ด้วย
บทที่ 2.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดาธรรมทั้งหลาย มีโอฆะเป็นต้น ความสงัดด้วย
อำนาจการข่มสังโยชน์ คือกามโอฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปาทาน
อภิชฌากายคัณฐะ และกามราคะไว้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบท
แรก. ความสงัดด้วยอำนาจการข่มสังโยชน์ คือ โอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน
และคัณฐะที่เหลือไว้ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัส ด้วยบทที่ 2. อนึ่ง ความ
สงัดด้วยอำนาจการข่มตัณหา และกิเลสที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้นไว้ เป็นอัน
พระองค์ตรัสด้วยบทแรก, ความสงัดด้วยอำนาจการข่มอวิชชา และกิเลสที่
สัมปยุตด้วยอวิชชานั้นไว้ เป็นอันพระองค์ตรัส ด้วยบทที่ 2.
อีกอย่างหนึ่ง ความสงัดด้วยอำนาจการข่มจิตตุปบาท 8 ดวง ที่
สัมปยุตด้วยโลภะไว้ พึงทราบว่า เป็นอันพระองค์ตรัสด้วยบทแรก. ความสงัด
ด้วยอำนาจการข่มอกุศลจิตตุปบาท 4 ดวงที่เหลือไว้ พึงทราบว่า เป็นอัน
พระองค์ตรัสด้วยบทที่ 2. การประกาศเนื้อความในคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ นี้ มีเพียงเท่านี้ก่อน.

[อรรถาธิบายองค์ 5 แห่งปฐมฌาน]


ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงองค์สำหรับละแห่งปฐมฌาน
ด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้แล้ว คราวนี้ เมื่อจะทรงแสดงองค์ประกอบ จึง
ตรัสคำมีอาทิว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร.
ในพากย์ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นต้นนั้น มิวินิจฉัยดังนี้ : -
ความตรึก ชื่อว่า วิตก, ท่านอธิบายว่า ความดำริ. วิตกนี้นั้น มีความกด